8 สมุนไพร ยาสามัญประจำบ้าน
แชร์:
facebook_share
line_share
twitter_share messenger_share

8 สมุนไพร ยาสามัญประจำบ้าน


สมุนไพร ของไทย มีมากมากหลายชนิด และมีสรรพคุณทางยา ที่เหมาะสำหรับเป็น ยาสามัญประจำบ้าน ได้

 

สมุนไพร ส่วนใหญ่ของไทย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กไปถึงค่อนข้างใหญ่ สามารถปลูกไว้รอบบ้านได้ ไม่เปลืองเนื้อที่มาก และด้วยสรรพคุณของสมุนไพร สามารถใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน เมื่อเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อยๆ ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ก็สะดวกในการนำสมุนไพรรอบบ้านมาใช้ในทันที วันนี้จึงขอมาแนะนำ 8 สมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาสามัญประจำบ้านได้กัน

 

ฟ้าทะลายโจร

เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น รสขม มีสรรพคุณมากมาย ทั้งแก้ไข้ บรรเทาอาการเจ็บคอ บรรเทาโรคหวัด  คัดจมูก ปวดหัวตัวร้อน ช่วยลด และขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการเกิด โรคระบบทางเดินหายใจ และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้ง การเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งได้

 

กะเพราแดง

รสเผ็ดร้อน แก้ปวดท้อง ท้องอืด แก้ลมจุกเสียดแน่นท้อง ขับลมทำให้เรอเหมาะสำหรับเด็ก นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยจากกะเพราแดงยังมีสรรพคุณช่วยเรื่องเกี่ยวกับฟันและช่องปากได้ คือ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ และมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก

 

ขิง

สมุนไพร รสเผ็ดร้อนหวาน ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน  จากเมารถ-เรือได้ สามารถนำมาหั่นและต้มกินได้

 

ตะไคร้

ในส่วนราก ช่วยบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว แก้ปวดกระเพาะ รวมถึงรักษากลากเกลื้อนได้ ในส่วนใบให้ต้มเป็นยา แก้อาการท้องอืด จุกเสียด  ขับปัสสาวะ แก้นิ่วได้

 

ช้าพลู หรือ ชะพลู

มีรสเผ็ดเล็กน้อย ช่วยเจริญอาหาร ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับเสมหะ ในส่วนของใบมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ และมีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา

 

ใบบัวบก

สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ไม่ใช่วัชพืชแต่อย่างใด มีสรรพคุณ แก้ไข้  แก้ร้อนใน ช้ำใน ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เป็นยาบำรุงและยาอายุวัฒนะ ช่วยเสริมสร้างความจำได้

 

ใบเตย

พืชกอที่มักขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ และรักษาโรคเบาหวานได้ โดยนำส่วนต้นและรากต้มกับใบ นอกจากนี้ สามารถรักษาโรคหัดได้ เพียงใช้ใบสดตำแล้วนำมาพอกในบริเวณที่เป็น

 

ว่านหางจระเข้

เป็นพืชล้มลุกต้นเตี้ย สามารถนำวุ้นจากต้น มารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด แผลการฉายรังสี และแผลที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อยได้ และมีตัวกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

 

สมุนไพรทั้ง 8 ชนิดนี้มีสรรพคุณที่ครอบคลุมสามารถรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้เหมือนกับยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีปลูกติดไว้รอบบ้าน ถึงแม้ว่าสมุนไพรเหล่านี้จะมีสรรพคุณ แต่หากบริโภคแล้วเกิดอาการแพ้ก็ควรหยุดรับประทานในทันที

สมุนไพร สามารถพัฒนาสังคมไทยได้หลายอย่าง ดังนี้
1. คุณค่าด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ความหมายของ สมุนไพร ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 คือ สมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ปรุง และแปรสภาพสมุนไพร เป็นสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ และสาธรณสุขประชาชนไทยบริโภคสมุนไพรใน 3 รูปแบบ คือ สมุนไพร จากแหล่งธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ สมุนไพร สำเร็จรูป และยาแผนโบราณ ใน พ.ศ. 2529 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้สำรวจเกี่ยวกับสวัสดิการอนามัย และการใช้ยาแผนโบราณ พบว่าประชากรไทยใช้ยาแผนโบราณ หรือ สมุนไพร ไทยในการบำบัดรักษาโรค ยาสมุนไพร และยาแผนโบราณเหล่านี้ประชากรคุ้นเคย เชื่อถือ และนิยมในสรรพคุณการรักษาโรค ยาแผนโบราณที่ประชาชนนิยมใช้กันคือ ยาหอม ยานัตถุ์ ยาบำรุงโลหิต ยาระบาย ยาแก้ร้อนใน และยาแก้ไอ นับได้ว่าประชาชนไทยจำนวนไม้น้อยยังมีการใช้ สมุนไพร เพื่อสุขภาพ และการแก้ไข ปัญหาสาธารณสุข
2. คุณค่าด้านเศรษฐกิจ สมุนไพร เป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ และมีฐานะเป็นวัตถุดิบพื้นบ้านของอุตสาหกรรมยาแผนโบราณ แหล่งผลิตยาแผนโบราณที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวนมาก ตำรายาแผนโบราณเหล่านี้ใช้สมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด โดยผลิตในหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยากวน ยาแผ่น เป็นต้น กรรมวิธีผลิตยาแผนโบราณทำตามวิธีการที่สืบทอดกันมา อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยาแผนโบราณมีอุปสรรคสำคัญคือ อุปสรรคด้านกฎหมายที่ปิดกั้นการพัฒนายาแผนโบราณ และปัญหาด้านวัตถุดิบ สมุนไพร  เนื่องจากพื้นที่ป่าธรรมชาติถูกทำลาย และลดลง อีกทั้งการปลูก สมุนไพร ยังไม่กว้างขวาง จึงทำให้วัตถุดิบบางชนิดหายาก ขาดแคลน หรือบางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าการบริโภคยาแผนโบราณของประชาชนมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำงานวิจัย สมุนไพร เดี่ยวมาพัฒนาเทคโนโลยีในระดับอุสาหกรรมการผลิตยาจาก สมุนไพร ภายในประเทศด้วย ในรูปแบบที่ทันสมัยต่าง ๆ อุตสาหกรมยาจาก สมุนไพร เหล่านี้อาศัยวัตถุดิบ สมุนไพร และเทคโนโลยีภายในประเทศ อันเป็นการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมยา และพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง
3.คุณค่าด้านนิเวศวิทยา ระบบนิเวศของโลกที่สลับซับซ้อนประกอบด้วยพรรณพืชที่มีหลากหลาย พรรณพืชเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับยารักษาโรค สีย้อม น้ำหอม เครื่องปรุงรส และแต่งสี สมุนไพร เหล่านี้มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ และสังคมสามในสี่ ของประชากรโลกยังคงใช้พืช สมุนไพร จากป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
4.คุณค่าด้านการเกษตรกรรม ภาวะปัจจุบันการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงจำนวนมาก สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้บริโภคอย่างมาก วงการเกษตรกรรมของสังคมไทยต้องการทางออกเพื่อการแก้ปัญหาเหล่านี้ สมุนไพร ส่วนหนึ่งมีสรรพคุณในการช่วยกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืช และช่วยรักษา โรคของพืชได้ ดังนั้น สมุนไพร จึงมีคุณค่าต่อด้านเกษตรกรรม และต่อผู้บริโภคโดยตรง เพราะผลผลิตที่ได้จะปราศจากพิษภัยจากสารเคมีทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พืชสมุนไพรที่ใช้ทดแทนสารเคมีที่ใช้ยาฆ่าแมลง เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ข่า ดาวเรือง เป็นต้น
5.คุณค่าแห่งภูมิปัญญา และวัฒนธรรม การใช้ สมุนไพร แก้ปัญหาความเจ็บไข้ได้ป่วยที่นับเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่บรรพบุรุษได้ลองผิดลองถูกค้นคว้าวิจัยตามธรรมชาติเหนือสิ่งอื่นใด บรรพบุรุษได้ใช้ชีวิตเลือดเนื้อแทนห้องปฏิบัติการ จนกระทั่งสั่งสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์มาจนถึง ปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้มีทั้งส่วนที่มิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตำราใบลาน สมุดข่อย จารึก การบันทึก ในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนัง หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดที่มุ่งแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ
 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ฟ้าทะลายโจร กับ สรรพคุณ ที่ดีแบบ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

กระชายขาว ต้านไวรัส


แท็ก :


บทความที่น่าสนใจ

สอบถามเพิ่มเติม คลิก

payment
แจ้งชำระเงิน คลิก