ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทยสรรพคุณล้นเหลือ
แชร์:
facebook_share
line_share
twitter_share messenger_share

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทยสรรพคุณล้นเหลือ


ยาสมุนไพร แม้ว่าจะเป็นยาธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง แต่ถึงอย่างนั้น ผู้ใช้ควรมีความรู้ว่า สมุนไพรบางชนิดนั้นมีผลข้างเคียงบางประการเช่นกัน แม้กระทั่ง ฟ้าทะลายโจร ยาสมุนไพรชื่อต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก

 

     ถึง ฟ้าทะลายโจร จะเป็นสมุนไพร เป็นยาธรรมชาติที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่ผู้ใช้ก็ควรรู้ว่า สมุนไพรไม่ได้มีแต่ประโยชน์ อาจมีผลข้างเคียงบางประการเช่นกัน ถ้าใครสงสัยเหมือนกันว่า สารสกัด ฟ้าทะลายโจร ของไทย มีประโยชน์ และข้อควรระวังอะไรบ้าง ลองตามไปดูนะคะ

 

     ประโยชน์ดี ๆ ของ ฟ้าทะลายโจร

1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

2. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

3. เป็นยาขมที่ช่วยทำให้เจริญอาหาร

4. ช่วยแก้ไข้ทั่ว ๆ ไป อาการหวัด คัดจมูก รวมถึงอาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

5. ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ

6. ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก

7. ช่วยลด และขับเสมหะ

8. ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ

9. ช่วยแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด

10. ช่วยแก้อาการร้อนใน

11. มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ

12. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนอง

13. มีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหารและช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี

14. ช่วยควบคุม และป้องกันมิให้เชื้อไวรัสหวัดชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย

15. ส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

16. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง

17. บรรเทาอาการกระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ฯลฯ

 

          ข้อควรระวังในการทาน ฟ้าทะลายโจร

     อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่า ถึง ฟ้าทะลายโจร จะมีสรรพคุณดีขนาดไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะกับสุขภาพของทุกคน ยังมีข้อควรระวังอีกมากมายที่คุณควรทราบก่อนทานยา ฟ้าทะลายโจร

1. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความดันต่ำ และมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย หรือทาน ฟ้าทะลายโจร แล้วมีอาการแพ้

2. ไม่ควรทานยา ฟ้าทะลายโจร ติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีอาการข้างเคียง

3. ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันต่ำ เพราะ ฟ้าทะลายโจร มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่มีปัญหาเรืองของความดันโลหิตสูงมากกว่า

4. สตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรทาน ฟ้าทะลายโจร เพราะอาจส่งผลต่อเด็กได้

5. ในบางรายอาจมีอาการแพ้ยา หรือมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ได้ เช่น ผื่นขึ้น ปากบวม หน้าบวม ตัวบวม หากแพ้มาก ๆ อาจเป็นภูมิแพ้เฉียบพลัน จนช็อคเสียชีวิตได้เช่นกัน

6. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอ และอักเสบเนื่องจากเหตุเฉพาะเจาะจงอื่น ๆ ที่ต้องควบคุมโดยแพทย์

 

          สรรพคุณของ ฟ้าทะลายโจร

1. ลดอาการไข้หวัดทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่

2. ระงับอาการอักเสบ ไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี

3. แก้ติดเชื้อที่ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ

4. เป็นยาขมเจริญอาหาร      

 

          กิน ฟ้าทะลายโจร อย่างไรให้ปลอดภัย

     รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัด

  • ฟ้าทะลายโจรวันละ 1 แคปซูล ต่อเนื่องกัน 5 วันต่อสัปดาห์ หรือวันเว้นวัน ได้นาน 3 เดือน ในช่วงไวรัส

แพร่ระบาด

  • รับประทานเมื่อมีไข้ มีอาการไอ เจ็บคอ
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป ครั้งละ 3 แคปซูล หลังอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน จนอาการดีขึ้น ( ไม่เกิน 7 วัน )
  • อายุ 4-11 ปี วันละ 1-2 เม็ด ไม่เกิน 10 วัน
  • ในช่วงโควิด-19 ระบาด หากมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก และหายใจเหนื่อยหอบ มีความเสี่ยงอื่น ๆ ควรพบแพทย์ก่อนใช้ยา ฟ้าทะลายโจร

 

ตำรับยา และวิธีใช้

1. ยาชง มีวิธีทำดังนี้

- เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า

- เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว

- ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน

2. ยาเม็ด ( ลูกกลอน ) มีวิธีทำดังนี้

- เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้แห้งเร็ว

- บดเป็นผงให้ละเอียด

- ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง ( หนัก 250 มิลลิกรัม )แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ  4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน

3. แคปซูล มีวิธีทำดังนี้

     แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแคปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แคปซูลที่ใช้ขนาดเบอร์ 2 ( ผงยา 250 มิลลิกรัม ) รับประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน

4. ยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้า

     เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง  40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ ( Ethyl alcohol ) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ( รสขมมาก ) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร

5. ยาผงใช้สูดดม

     คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวก และง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

น้ำมันอะโวคาโด้กับสารพัดประโยชน์

เลือกแป้งพัฟอย่างไรให้เข้ากับสีผิว


แท็ก :


บทความที่น่าสนใจ

สอบถามเพิ่มเติม คลิก

payment
แจ้งชำระเงิน คลิก